สตาร์ทอัพ : รับรางวัล 6 ล้านดอลลาร์ จากเจ้าชายวิลเลียม

TheStartup.online l Start Update

————————————————————————————————————————————————

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปี 2022 ที่บอสตัน

เจ้าชายวิลเลียมมอบรางวัล “Earthshot Prize 2022” ให้แก่ผู้ชนะทั้ง 5 ทีม เป็นเงินรางวัลทีมละ 1 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 1.2 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งสิ้น 5 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 6 ล้านดอลลาร์

Prince Willam & Princess Kate

———————————————————————————————————————————————

สำหรับผู้ชนะทั้ง 5 ทีมได้แก่

  • ทีม “Notpla” สตาร์ทอัพจาก : ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
  • ผู้บุกเบิกการนำสาหร่ายทะเลมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกทางเลือก แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และย่อยสลายได้ทั้งหมด

  • ทีม “44.01” สตาร์ทอัพจาก : ประเทศโอมาน
  • ผู้ใช้เทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มาทำหิน

  • ทีม “KHEYTI” สตาร์ทอัพจาก : ประเทศอินเดีย
  • ผู้ผลิตโรงเรือนอัจฉริยะ ราคาถูกกว่าทั่วไปถึง 90% ประหยัดน้ำกว่า 98% และให้ผลผลิตมากกว่าถึง 7 เท่า

  • ทีม “INDIGENOUS WOMEN OF THE GREAT BARRIER REEF” สตาร์ทอัพจาก : ประเทศออสเตรเลีย
  • เป็นกลุ่มผู้หญิงชาวพื้นเมืองในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ที่ช่วยกันปกป้องป่าไม้และแนวปะการัง “Great Barrier Reef” ซึ่งถูกตั้งค่าสถานะเป็นมรดกโลก ที่ตกอยู่ในอันตราย

  • ทีม “Mukuru Clean Stoves” สตาร์ทอัพจาก : ประเทศเคนยา
  • ผู้ผลิตเตาชีวมวลแปรรูปที่ทำจากถ่านไม้และอ้อย สร้างมลพิษน้อยกว่า และราคาถูกเพียง 10 ดอลลาร์เท่านั้น

Winners The Earthshot Prize Boston 2022

————————————————————————————————————————————————

รางวัล ” Earthshot Prize” ก่อตั้งขึ้นในปี 2020 โดยเจ้าชายวิลเลียม แห่งราชวงศ์อังกฤษ

ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากสุนทรพจน์ “Moonshot” ของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ในปี 1962 ที่ระดมทุนจากสาธารณะเพื่อโครงการ ส่งนักบินอวกาศชาวอเมริกันขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์

JFK’s “Moonshot” Speech

โครงการ “Earthshot Prize” ตั้งเงินรางวัลรวมทั้งสิ้นไว้ที่ 50 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 61 ล้านดอลลาร์ สำหรับระยะเวลาโครงการ 10 ปี สิ้นสุดปี 2030

โดยแบ่งเป็นเงินรางวัลรวม 5 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 6 ล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งในแต่ละปีจะมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะ 5 ทีม เป็นเงินรางวัลทีมละ 1 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 1.2 ล้านดอลลาร์

———————————————————————————————————————————————

รางวัล “Earthshot Prize” ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่สองแล้ว

ในการคัดเลือกผู้ประกอบการ ที่เสนอวิธีแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์ โดยพิจารณาจากใบสมัครของผู้ประกอบการมากกว่า 1,000 ทีมจากทั่วโลก เพื่อคัดเลือกผู้เข้ารอบสุดท้าย 15 ทีม จาก 10 ประเทศ

สำหรับผู้ชนะ 5 ทีมสุดท้ายจะได้รับการคัดเลือกโดย “Earthshot Prize Council”

ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจตัดสินใจ ประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงอิทธิพล เช่น

เจ้าชายวิลเลียม / สมเด็จพระราชินีราเนีย อัล อับดุลลาห์แห่งจอร์แดน / เซอร์เดวิด แอตเทนโบโรห์ / ดร. อินโคซิโอ เอ็นโจ ไอเวลล่า / อินทรา นูยี / ชากีรา เมบารัค / คริสเตียนา ฟิเกอเรส / ลุยซา นอยบาวเออร์ / เคต แบลนเชตต์ / เหยา หมิง / ดาเนียล อัลเวส ดา ซิลวา / เออร์เนสต์ กิบสัน / ฮินดู โอมารู อิบราฮิม / แจ็ค หม่า / และ นาโอโกะ ยามาซากิ

————————————————————————————————————————————————

รางวัล “Earthshot Prize” แบ่งเป็น 5 หมวดหมู่ ได้แก่

“การสร้างโลกที่ปราศจากขยะ” (BUILD A WASTE-FREEWORLD)

“แก้ไขสภาพอากาศของเรา” (FIX OUR CLIMATE)

“ปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ” (PROTECT AND RESTORE NATURE)

“ฟื้นฟูมหาสมุทรของเรา” (REVIVE OUR OCEANS)

“ทำความสะอาดอากาศของเรา” (CLEAN OUR AIR)

==========================================================================

หมวดหมู่ “การสร้างโลกที่ปราศจากขยะ” (BUILD A WASTE-FREEWORLD)

ผู้ชนะคือ ทีม “Notpla” สตาร์ทอัพจาก : ลอนดอน, สหราชอาณาจักร

London-based start-up Notpla, founded by Pierre Paslier and Rodrigo Garcia Gonzalez

“Notpla” เป็นผู้บุกเบิกการนำสาหร่ายทะเลมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกทางเลือก แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งสามารถย่อยสลายตัวเองได้ทั้งหมดภายใน 4-6 สัปดาห์ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับโลก ไม่เหลือเศษขยะให้รกโลก

ในการปลูกสาหร่ายทะเล ไม่จำเป็นต้องใช้ที่ดินบนบก ไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องใช้น้ำจืดเพื่อรดน้ำให้มัน ไม่ต้องใช้แรงงานในการดูแลมากนัก และมันเติบโตเร็วกว่าพืชบนบก 20-30 เท่า

นอกจากนี้ การทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายในทะเล ยังช่วยลดความเป็นกรดของน้ำในทะเล และสาหร่ายสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 20 เท่าของต้นไม้บนบก โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกดูดซับผ่านสาหร่ายและจมลงสู่ใต้ท้องทะเล

——————————————————————————————————————————————

“Notpla” ก่อตั้งขึ้นในปี 2014

โดย “โรดริโก การ์เซีย กอนซาเลซ” และ “ปิแอร์ ปาสลิเยร์” ในช่วงเวลานั้นทั้งสองคนยังเป็นนักศึกษา Innovation Design Engineering ที่ Imperial College London และ Royal College of Art

แต่เดิมบริษัทใช้ชื่อว่า “SKIPPING ROCKS LAB” ตั้งแต่วันที่เริ่มก่อตั้งคือ 25 กรกฎาคม ปี 2014 จนถึงวันที่ 22 กรกฎาคม ปี 2019 หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “Notpla” มีที่มาจากคำว่า “Not-P-L-A” ซึ่งแปลว่า “ไม่ใช่พลาสติก “P-L-A”

———————————————————————————————————————————————

P-L-A คืออะไร?

PLA หรือชื่อเต็มว่า “Polylactic Acid” เป็นโพลิเอสเตอร์ชีวภาพ ซึ่งทำจากพืช เช่น แป้งข้าวโพด อ้อย และหัวบีท พืชเหล่านี้จะถูกหมักเพื่อให้เกิดกรดแลคติก

จากนั้นจะนำไปผ่านกระบวนการพอลิเมอไรเซชัน เพื่อสร้าง PLA ให้เป็นเทอร์โมพลาสติก จากนั้นจะผลิตโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การอัดขึ้นรูป การฉีดขึ้นรูป การเทอร์โมฟอร์ม และวิธีการอื่น ๆ เช่น การพิมพ์ 3 มิติโดยใช้เส้นใย PLA

PLA จัดเป็นพลาสติกทางเลือกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น แก้วชานมไข่มุก แก้วกาแฟเย็น กล่องใส่ผักผลไม้

PLA

———————————————————————————————————————————————

ความแตกต่างระหว่าง “Not-P-L-A” และ “P-L-A”

“Not-P-L-A” เป็นพลาสติกทางเลือกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และ “P-L-A” ก็เป็นพลาสติกทางเลือกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเช่นกัน

แต่มีความแตกต่างกัน คือ

“Not-P-L-A” สามารถย่อยสลายตัวเองได้ทั้งหมด ภายใน 4-6 สัปดาห์ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ไม่เหลือเศษขยะให้รกโลก

แต่ “P-L-A” ไม่สามารถย่อยสลายด้วยตัวเองได้ นำกลับมารีไซเคิลไม่ได้ มีทางเดียวคือต้องส่งไปโรงงานทำปุ๋ยหมักที่มีความรู้ ความชำนาญ เพราะการจะย่อยสลาย “P-L-A” ให้เป็นปุ๋ยหมักได้นั้น มีขั้นตอนที่ซับซ้อนยุ่งยาก ต้องควบคุมอุหณภูมิ และเลือกใช้จุลินทรีย์ที่เหมาะสม

คนส่วนมากไม่รู้ถึงปัญหานี้ จึงทิ้งขยะพลาสติก “P-L-A” รวมไปกับขยะพลาสติกทั่วไปที่รีไซเคิลได้ เพราะคิดว่ามันจะถูกนำไปรีไซเคิล หรือบางคนอาจรู้ถึงที่มาว่า “P-L-A” ผลิตมาจากพืช ก็เลยคิดว่ามันน่าจะย่อยสลายได้อย่างง่ายดาย

อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ “P-L-A” และพลาสติกทั่วไป ไม่สามารถรีไซเคิลได้อีกต่อไป พวกมันก็จะถูกนำไปทิ้งรวมกัน ก่อให้เกิดขยะ เกิดมลพิษจากพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายนี้ไปอีกนานหลายปี

———————————————————————————————————————————————

ผลิตภัณฑ์ตัวแรก และเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ “Notpla” คือแคปซูล “Ooho”

ซึ่งผลิตจากวุ้นสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล โดยมีลักษณะเป็นถุงแคปซูลเล็ก ๆ สำหรับใส่น้ำดื่ม น้ำผลไม้ หรือ ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ หรืออะไรก็ได้ที่เราต้องการ

เนื่องจาก “Ooho” ผลิตจากวุุ้นสาหร่ายทะเล ดังนั้น เมื่อเราต้องการดื่มน้ำ เราสามารถหยิบ “Ooho” ใส่ปาก เคี้ยว แล้วกลืนกินลงไปได้เลย หรือถ้าเราต้องการแค่ดื่มน้ำจากถุง เสร็จแล้วโยนถุงทิ้งได้เลย เพราะมันจะย่อยสลายตัวเองได้ทั้งหมด โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

Ooho ball can eat

———————————————————————————————————————————————

แคปซูล “Ooho” เปิดตัวครั้งแรกในงานแข่งขันวิ่งมาราธอน ที่ลอนดอน ปี 2019

Ooho London marathon 2019

โดยสตาร์ทอัพ “Notpla” ร่วมมือกับ “ลูคอนซาเด้ สปอร์ต” (Lucozade Sport) ด้วยการใช้แคปซูล “Ooho” จำนวน 36,000 แคปซูล เพื่อทดแทนถ้วยและขวดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง สำหรับนักกีฬาในการแข่งขันวิ่งมาราธอนที่ลอนดอน

( “ลูคอนซาเด้ สปอร์ต” เป็นเครื่องดื่มสำหรับผู้ออกกำลังกายที่สูญเสียโซเดียม อิเล็กโทรไลต์ไปกับเหงื่อ ในเครื่องดื่มนี้ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต และอิเล็กโทรไลต์ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น และช่วยรักษาประสิทธิภาพความอดทนของร่างกาย)

ปกติแล้ว ขวดพลาสติกหนึ่งขวดจะต้องใช้เวลาประมาณ 450 ปีถึง 1,000 ปีในการย่อยสลาย

ในปี 2018 การวิ่งมาราธอนในลอนดอน ได้สร้างขยะขวดพลาสติกมากถึง 920,000 ขวด

London marathon 2018 plastic

———————————————————————————————————————————————

นอกจากนี้ “Notpla” ยังมีผลิตภัณฑ์อีกหลายตัวที่ทำจากสาหร่ายทะเล เช่น

  • กล่องอาหารสำหรับซื้อกลับบ้าน เพื่อร้านอาหารในแอปฟู๊ดเดลิเวอรี่ “Just Eat”
  • สารเคลือบกันน้ำสำหรับกล่องอาหาร – ทำจากวุ้นของสาหร่ายทะเล
  • ฟิล์มห่ออาหาร – ทำจากวุ้นของสาหร่ายทะเล
  • กระดาษแข็ง – ทำจากเส้นใยของสาหร่ายทะเล ที่เป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตสินค้าหลัก
  • พลาสติกแข็ง – ทำจากเส้นใยของสาหร่ายทะเล ที่เป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตสินค้าหลัก

*วัตถุดิบสาหร่ายทะเลที่นำมาผลิตสินค้าหลัก จะนำวุ้นสาหร่ายมาใช้ได้เพียงแค่ 15%-20% ส่วนที่เหลืออีกกว่า 80% คือกากใยของต้นสาหร่าย ต้องทิ้งสูญเปล่า ทาง “Notpla” จึงคิดค้นวิธีที่จะนำส่วนที่เหลือทิ้งนี้มาผลิตเป็นสินค้าตัวใหม่ขึ้นมา นั่นคือ กระดาษแข็ง และพลาสติกแข็ง

Brown seaweed

=====================================================================================

หมวดหมู่ “แก้ไขสภาพอากาศของเรา” (FIX OUR CLIMATE)

ผู้ชนะคือ ทีม “44.01” สตาร์ทอัพจาก : ประเทศโอมาน

44.01-Jurge-Talal-Peter

————————————————————————————————————————————————

“44.01” เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มาแปลงสภาพให้กลายเป็นหิน

สตาร์ทอัพ “44.01” ก่อตั้งในปี 2020 โดย “Talal Hasan” ที่มาของชื่อ “44.01” มาจากน้ำหนักโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์

สตาร์ทอัพ “44.01” ได้จดทะเบียนบริษัทในสหราชอาณาจักร ในชื่อบริษัท “Protostar Group Limited”

บริษัทฯ ได้ลงนามใน MOU กับบริษัท “Mission Zero Technologies” เพื่อทำงานร่วมกันในโครงการ “Hajar”

โครงการนี้เริ่มต้นจากแนวคิดของ “Talal Hasan” ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ “44.01” เขาตั้งเป้าที่จะแปลงสภาพก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศในประเทศโอมาน ให้กลายเป็นแร่ธาตุจำนวน 1,000 เมตริกตันในแต่ละปีจนถึงปี 2024

นอกจากนี้เขายังหวังว่าจะขยายโครงการ “Hajar” ไปทั่วโลก เพื่อกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 1 พันล้านเมตริกตันภายในปี 2040

Project-Hajar

————————————————————————————————————————————————

โครงการ “Hajar” ตั้งอยู่ในเทือกเขา “Al Hajar” ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศโอมาน และตามแนวชายฝั่งของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

เทือกเขา “Al Hajar” เกิดขึ้นเมื่อ 96 ล้านปีก่อน จากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด เปลือกโลกที่เคลื่อนตัวขึ้นสู่พื้นโลกในทวีปอาหรับนี้ ได้กลายเทือกเขาที่มีความยาว 350 กิโลเมตร กว้าง 50 กิโลเมตร และหนาหลายกิโลเมตร

ในเทือกเขา “Al Hajar” มีหินเพอริโดไทต์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยปกติแล้วหินเพอริโดไทต์จะก่อตัวอยู่ใต้ท้องทะเลลึกมากกว่า 20 กิโลเมตร แต่เนื่องจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ทำให้หินเพอริโดไทต์เคลื่อนตัวตามมาอยู่ชั้นใต้ดินของโลก

Al Hajar Moutain

————————————————————————————————————————————————

จุดประสงค์หลักของโครงการ “Hajar”คือ การดักจับก๊าซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ออกจากอากาศ แล้วเปลี่ยนสภาพให้กลายแร่แคลไซด์ในหินเพอริโดไทด์

สำหรับเครื่อ่งมือ เครื่องจักร ต่าง ๆ ที่ใช้งานในโครงการนี้จะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานลม

แผนการทำงานเริ่มต้นด้วยการขุดเจาะหลุมให้ลึกไปถึงชั้นหินแมนเทิล ซึ่งมีหินเพอริโดไทต์อยู่เป็นจำนวนมาก จากนั้นจะสูบน้ำจากใต้ดินที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง ฉีดเข้าไปในหินเพอริโดไทต์

————————————————————————————————————————————————

ทั้งสองบริษัท แบ่งงานกันโดย บริษัท “Mission Zero Technologies” จะใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยีของบริษัทตนเองซึ่งมีกำลังการผลิตสูงถึง 1,000 ตันต่อปี ในการดักจับก๊าซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ ออกมาจากอากาศในบริเวณโครงการ “Hajar” คาร์บอนด์ไดออกไซด์ที่ถูกดึงออกมาจากอากาศจะถูกเก็บไว้ภายใต้พื้นดิน

หลังจากนั้น สตาร์ทอัพ “44.01” จะรับหน้าที่ต่อด้วยการสูบน้ำจากใต้ดิน ซึ่งเป็นน้ำที่มีประจุคาร์บอนไดออกไซด์อยู่สูงมาก น้ำจะถูกฉีดเข้าไปในหินเพอริโดไทต์ ซึ่งอยู่ในหลุมที่ขุดเตรียมไว้แล้ว

————————————————————————————————————————————————

เพอริโดไทต์เป็นหินอัคนีที่อุดมไปด้วยโอลิวีนและไพรอกซีน มันจะทำปฏิกิริยากับน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดเป็น “แร่แคลไซด์” ที่มีลักษณะเป็นคราบผงสีขาวขึ้นในชั้นหินเพอริโดไทต์ จนในที่สุดแร่แคลไซด์กับหินก็จะกลายเป็นเนื้อเดียวกัน

การฉีดน้ำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูงเข้าสู่หินเพอริโดไทต์ จะช่วยเร่งระยะเวลาการเกิดแร่แคลไซด์ในรอยแตกของหินเพอริโดไทต์ ให้เกิดเร็วขึ้นกว่าการปล่อยให้เกิดเองตามธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายสิบปี

ขั้นตอนนี้ จำเป็นต้องใช้น้ำในปริมาณมาก แต่เนื่องจากโอมานเป็นประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งน้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่าและหายาก ดังนั้นในอนาคต ทางโครงการจะมีการทดลองใช้น้ำทะเลแทนน้ำจืดในพื้นที่บริเวณชายฝั่ง

Carbon-dioxide-reacts with peridotite

————————————————————————————————————————————————

สตาร์ทอัพ “44.01” นอกจาก “Talal Hasan” ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งแล้ว เขายังมีที่ปรึกษาอีกสองคน เป็นนักธรณีวิทยาซึ่งทำงานในทะเลทรายโอมาน มานานกว่า 15 ปีคือ “Dr. Peter Kelemen” และ “Dr. Jürg Matter” นักธรณีวิทยาทั้งสองคนได้รับการติดต่อครั้งแรกจาก “Talal Hasan” ในช่วงประมาณปี 2017

ตอนนั้น “Talal Hasan” ยังทำงานในกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของโอมาน เขาหวังที่จะโน้มน้าวให้รัฐบาลลงทุนในการจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในหินชั้นเปลือกโลก แต่ไม่สำเร็จ สุดท้ายเขาก็ลาออกจากกองทุน และไปก่อตั้งสตาร์ทอัพ “44.01” ขึ้นมา

————————————————————————————————————————————————

สตาร์ทอัพ “44.01” ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโดยตรงจาก “Clime works” บริษัทในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยอุปกรณ์นี้ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์

พวกเขาได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาล ให้เริ่มโครงการศึกษานำร่องขนาดเล็ก ในไซต์งานที่เคยมีการขุดเจาะทางวิทยาศาสตร์ของโครงการอื่นก่อนหน้านี้ ที่เมืองมัสกัต ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองหลวงของประเทศโอมาน

Climeworks’ first commercial direct air capture plant, based in Hinwil, Switzerland. The fans draw in air, where the CO2 in that air reacts with chemicals that selectively bind it. Photo by Climeworks

————————————————————————————————————————————————

นักธรณีวิทยา “Peter Kelemen” ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของ สตาร์ทอัพ “44.01” ให้สัมภาษณ์ว่า “เราหวังว่ารัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐบางหน่วย จะจ่ายเงินให้เราสำหรับการกักเก็บคาร์บอนจากทั่วโลก ในอัตรา 30 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งค่าใช้จ่ายดัังกล่าวเทียบได้กับต้นทุนการจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบัน”

และเขายังให้สัมภาษณ์ต่อไปอีกว่า “นอกจากจะสร้างแร่คาร์บอเนตที่เป็นของแข็งแล้ว ปฏิกิริยาของน้ำผิวดินกับชั้นหินแมนเทิล สามารถก่อตัวเป็นก๊าซไฮโดรเจน ที่สามารถใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าในต้นทุนต่ำได้ เรากำลังดำเนินการวิจัยเชิงวิชาการเกี่ยวกับอัตราการเกิดไฮโดรเจน และศึกษาแนวทางที่สามารถเร่งความเร็วได้”

“ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เรากำลังตรวจสอบว่าแร่ในเหมืองบางชนิด ไม่เพียงแต่กักเก็บคาร์บอนได้เท่านั้น แต่ยังช่วยในการสกัด นิกเกิลและโคบอลต์ ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และการผลิตพลังงานหมุนเวียน”

=====================================================================================

หมวดหมู่ “ปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ” (PROTECT AND RESTORE NATURE)

ผู้ชนะคือ ทีม “KHEYTI” สตาร์ทอัพจาก : ประเทศอินเดีย

Kheyti’s greenhouse. Credit SaumyaKheyti

“KHEYTI” เป็นสตาร์ทอัพ ผู้ผลิตโรงเรือน “Greenhouse-in-a-Box” ซึ่งมีราคาถูกกว่าโรงเรือนทั่วไปถึง 90% โดยพืชที่ปลูกในโรงเรือนนี้ต้องการน้ำน้อยกว่าพืชที่ปลูกในกลางแจ้งถึง 98% และให้ผลผลิตสูงกว่าพืชที่ปลูกในกลางแจ้งถึงเจ็ดเท่า

เมื่อมีการใช้น้ำน้อยลง และการใช้ยาฆ่าแมลงน้อยลง จึงเป็นการปกป้องโลกไปด้วยในตัว

โซลูชั่นของ “KHEYTI” ช่วยให้กับเกษตรกรเข้าถึงการลงทุนเพื่อทำฟาร์มได้มากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น กว่าสองเท่า

ปัจจุบัน ฟาร์มกว่า 1,000 แห่งมีโรงเรือน “Greenhouse-in-a-Box” ของ “KHEYTI” และภายในปี 2027 “KHEYTI” ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 5,000 แห่ง

=====================================================================================

หมวดหมู่ “ฟื้นฟูมหาสมุทรของเรา” (REVIVE OUR OCEANS)

ผู้ชนะคือ ทีม “INDIGENOUS WOMEN OF THE GREAT BARRIER REEF”

สตาร์ทอัพจาก : ออสเตรเลีย

QIWRN

แนวปะการัง “Great Barrier Reef” ถูกตั้งค่าสถานะเป็นมรดกโลกที่ ตกอยู่ในอันตราย

แนวปะการัง “เกรตแบร์ริเออร์รีฟ” ซึ่งอยู่ในทะเลคอรัล นอกชายฝั่งควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อน และอยู่ถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่บนบก พืชและสัตว์ถูกทำลายโดยไฟป่าที่เกิดขึ้นเป็นประจำ

“The Queensland Indigenous Women Rangers Network” หรือ “QIWRN” ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 โครงการนี้ได้รวบรวมความรู้กว่า 60,000 ปีของ “First National” เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปกป้องผืนป่าและท้องทะเล รวมถึงแนวปะการัง “Great Barrier Reef”

มีเพียงประมาณ 20% ของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าพื้นเมืองในควีนส์แลนด์ที่เป็นผู้หญิง

โครงการนี้ได้ฝึกอบรมผู้หญิงมากกว่า 60 คน ซึ่งในเวลาต่อมาหลายคนที่ผ่านการอบรมจากโครงการนี้ ได้เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า หรือในหน่วยอนุรักษ์ในควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย

เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าหญิงพื้นเมืองสามารถขยายพื้นที่ไปทั่วโลก เพื่อช่วยซ่อมแซมระบบนิเวศ ตั้งแต่ฮาวายไปจนถึงเนปาลและแทนซาเนีย

=====================================================================================

หมวดหมู่ “ทำความสะอาดอากาศของเรา” (CLEAN OUR AIR)

ผู้ชนะคือ ทีม “MUKURU” CLEAN STOVES สตาร์ทอัพจาก : ประเทศเคนยา

MUKURU CLEAN STOVES

ทั่วแอฟริกา ผู้คนกว่า 700 ล้านคนใช้เตาปรุงอาหารแบบดั้งเดิม ซึ่งปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายและขาดระบบป้องกัน

“Charlot Magayi” เติบโตใน “Mukuru” หนึ่งในสลัมที่ใหญ่ที่สุดของไนโรบี

เป็นเวลาหลายปีที่ “Charlot Magayi” ขายถ่านเพื่อเป็นเชื้อเพลิง ละอองจากผงเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอติดเชื้อทางเดินหายใจ

ในปี 2017 “Charlot Magayi” ได้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ “Mukuru Clean Stoves” ซึ่งใช้ชีวมวลแปรรูปที่ทำจากถ่านไม้และอ้อย เผาไหม้ได้สะอาดกว่า สร้างมลพิษน้อยกว่า และเตานี้มีราคาถูกเพียง 10 ดอลลาร์เท่านั้น และการใช้เตานี้ยังช่วยลดค่าเชื้อเพลิงลงจากเดิม 50%

ทุกวันนี้ ผู้คนกว่า 200,000 คนในเคนยาใช้ “Mukuru Clean Stoves”

ในพื้นที่ชนบท เด็กสาวต้องใช้เวลากว่าสามชั่วโมงต่อวันในการเก็บฟืน เตานี้ทำให้พวกเธอประหยัดเวลาอันมีค่าได้อีกด้วย

“Mukuru” เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดยผู้หญิง มีพนักงานและตัวแทนจัดจำหน่ายเป็นผู้หญิง เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงสามารถหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเอง

==================================================================================

สตาร์ทอัพ : จับก๊าซคาร์บอนมาทำหิน

“44.01” เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มาแปลงสภาพให้กลายเป็นหิน

สตาร์ทอัพ “44.01” ก่อตั้งในปี 2020 โดย “Talal Hasan” ที่มาของชื่อ “44.01” มาจากน้ำหนักโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์

สตาร์ทอัพ “44.01” ได้จดทะเบียนบริษัทในสหราชอาณาจักร ในชื่อบริษัท “Protostar Group Limited”

บริษัทฯ ได้ลงนามใน MOU กับบริษัท “Mission Zero Technologies” เพื่อทำงานร่วมกันในโครงการ “Hajar”

โครงการนี้เริ่มต้นจากแนวคิดของ “Talal Hasan” ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ “44.01” เขาตั้งเป้าที่จะแปลงสภาพก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศในประเทศโอมาน ให้กลายเป็นแร่ธาตุจำนวน 1,000 เมตริกตันในแต่ละปีจนถึงปี 2024

นอกจากนี้เขายังหวังว่าจะขยายโครงการ “Hajar” ไปทั่วโลก เพื่อกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 1 พันล้านเมตริกตันภายในปี 2040

Project-Hajar

————————————————————————————————————————————————

โครงการ “Hajar” ตั้งอยู่ในเทือกเขา “Al Hajar” ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศโอมาน และตามแนวชายฝั่งของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

เทือกเขา “Al Hajar” เกิดขึ้นเมื่อ 96 ล้านปีก่อน จากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด เปลือกโลกที่เคลื่อนตัวขึ้นสู่พื้นโลกในทวีปอาหรับนี้ ได้กลายเทือกเขาที่มีความยาว 350 กิโลเมตร กว้าง 50 กิโลเมตร และหนาหลายกิโลเมตร

ในเทือกเขา “Al Hajar” มีหินเพอริโดไทต์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยปกติแล้วหินเพอริโดไทต์จะก่อตัวอยู่ใต้ท้องทะเลลึกมากกว่า 20 กิโลเมตร แต่เนื่องจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ทำให้หินเพอริโดไทต์เคลื่อนตัวตามมาอยู่ชั้นใต้ดินของโลก

Al Hajar Moutain

————————————————————————————————————————————————

จุดประสงค์หลักของโครงการ “Hajar”คือ การดักจับก๊าซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ออกจากอากาศ แล้วเปลี่ยนสภาพให้กลายแร่แคลไซด์ในหินเพอริโดไทด์

สำหรับเครื่อ่งมือ เครื่องจักร ต่าง ๆ ที่ใช้งานในโครงการนี้จะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานลม

แผนการทำงานเริ่มต้นด้วยการขุดเจาะหลุมให้ลึกไปถึงชั้นหินแมนเทิล ซึ่งมีหินเพอริโดไทต์อยู่เป็นจำนวนมาก จากนั้นจะสูบน้ำจากใต้ดินที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง ฉีดเข้าไปในหินเพอริโดไทต์

————————————————————————————————————————————————

ทั้งสองบริษัท แบ่งงานกันโดย บริษัท “Mission Zero Technologies” จะใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยีของบริษัทตนเองซึ่งมีกำลังการผลิตสูงถึง 1,000 ตันต่อปี ในการดักจับก๊าซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ ออกมาจากอากาศในบริเวณโครงการ “Hajar” คาร์บอนด์ไดออกไซด์ที่ถูกดึงออกมาจากอากาศจะถูกเก็บไว้ภายใต้พื้นดิน

หลังจากนั้น สตาร์ทอัพ “44.01” จะรับหน้าที่ต่อด้วยการสูบน้ำจากใต้ดิน ซึ่งเป็นน้ำที่มีประจุคาร์บอนไดออกไซด์อยู่สูงมาก น้ำจะถูกฉีดเข้าไปในหินเพอริโดไทต์ ซึ่งอยู่ในหลุมที่ขุดเตรียมไว้แล้ว

————————————————————————————————————————————————

เพอริโดไทต์เป็นหินอัคนีที่อุดมไปด้วยโอลิวีนและไพรอกซีน มันจะทำปฏิกิริยากับน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดเป็น “แร่แคลไซด์” ที่มีลักษณะเป็นคราบผงสีขาวขึ้นในชั้นหินเพอริโดไทต์ จนในที่สุดแร่แคลไซด์กับหินก็จะกลายเป็นเนื้อเดียวกัน

การฉีดน้ำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูงเข้าสู่หินเพอริโดไทต์ จะช่วยเร่งระยะเวลาการเกิดแร่แคลไซด์ในรอยแตกของหินเพอริโดไทต์ ให้เกิดเร็วขึ้นกว่าการปล่อยให้เกิดเองตามธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายสิบปี

ขั้นตอนนี้ จำเป็นต้องใช้น้ำในปริมาณมาก แต่เนื่องจากโอมานเป็นประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งน้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่าและหายาก ดังนั้นในอนาคต ทางโครงการจะมีการทดลองใช้น้ำทะเลแทนน้ำจืดในพื้นที่บริเวณชายฝั่ง

Carbon-dioxide-reacts with peridotite

————————————————————————————————————————————————

สตาร์ทอัพ “44.01” นอกจาก “Talal Hasan” ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งแล้ว เขายังมีที่ปรึกษาอีกสองคน เป็นนักธรณีวิทยาซึ่งทำงานในทะเลทรายโอมาน มานานกว่า 15 ปีคือ “Dr. Peter Kelemen” และ “Dr. Jürg Matter” นักธรณีวิทยาทั้งสองคนได้รับการติดต่อครั้งแรกจาก “Talal Hasan” ในช่วงประมาณปี 2017

ตอนนั้น “Talal Hasan” ยังทำงานในกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของโอมาน เขาหวังที่จะโน้มน้าวให้รัฐบาลลงทุนในการจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในหินชั้นเปลือกโลก แต่ไม่สำเร็จ สุดท้ายเขาก็ลาออกจากกองทุน และไปก่อตั้งสตาร์ทอัพ “44.01” ขึ้นมา

————————————————————————————————————————————————

สตาร์ทอัพ “44.01” ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโดยตรงจาก “Clime works” บริษัทในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยอุปกรณ์นี้ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์

พวกเขาได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาล ให้เริ่มโครงการศึกษานำร่องขนาดเล็ก ในไซต์งานที่เคยมีการขุดเจาะทางวิทยาศาสตร์ของโครงการอื่นก่อนหน้านี้ ที่เมืองมัสกัต ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองหลวงของประเทศโอมาน

Climeworks’ first commercial direct air capture plant, based in Hinwil, Switzerland. The fans draw in air, where the CO2 in that air reacts with chemicals that selectively bind it. Photo by Climeworks

————————————————————————————————————————————————

นักธรณีวิทยา “Dr. Peter Kelemen” ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของ สตาร์ทอัพ “44.01” ให้สัมภาษณ์ว่า “เราหวังว่ารัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐบางหน่วย จะจ่ายเงินให้เราสำหรับการกักเก็บคาร์บอนจากทั่วโลก ในอัตรา 30 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งค่าใช้จ่ายดัังกล่าวเทียบได้กับต้นทุนการจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบัน”

และเขายังให้สัมภาษณ์ต่อไปอีกว่า “นอกจากจะสร้างแร่คาร์บอเนตที่เป็นของแข็งแล้ว ปฏิกิริยาของน้ำผิวดินกับชั้นหินแมนเทิล สามารถก่อตัวเป็นก๊าซไฮโดรเจน ที่สามารถใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าในต้นทุนต่ำได้ เรากำลังดำเนินการวิจัยเชิงวิชาการเกี่ยวกับอัตราการเกิดไฮโดรเจน และศึกษาแนวทางที่สามารถเร่งความเร็วได้”

“ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เรากำลังตรวจสอบว่าแร่ในเหมืองบางชนิด ไม่เพียงแต่กักเก็บคาร์บอนได้เท่านั้น แต่ยังช่วยในการสกัด นิกเกิลและโคบอลต์ ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และการผลิตพลังงานหมุนเวียน”

==================================================================================

NASA : ทุ่ม 57 ล้านดอลลาร์ สร้างบ้านบนดวงจันทร์ – อเมริกา : บ้านที่สร้างเสร็จใน 2 วัน รีไซเคิลได้ 100%

ICON-Olympus-NASA

NASA ทุ่ม 57 ล้านดอลลาร์ สร้างบ้านบนดวงจันทร์

หน่วยงานด้านอวกาศ NASA ได้ทำสัญญามูลค่า 57.2 ล้านดอลลาร์ จ้างบริษัท ICON เพื่อสร้างสิ่งที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตบนดวงจันทร์ เช่น ถนน ฐานยิงจรวด และที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถานีอวกาศบนดวงจันทร์

ICON เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบเติมเนื้อวัสดุ (AM) และการพิมพ์ 3 มิติขนาดใหญ่ ได้รับสัญญาภายใต้โครงการวิจัยนวัตกรรมธุรกิจขนาดเล็ก (SBIR) ของ NASA สำหรับโครงการ ‘Olympus’ ระยะที่ 3

ในการก่อสร้างครั้งนี้ ICON จะทำงานร่วมกับผู้ออกแบบคือ บริษัทสถาปัตยกรรม BIG-Bjarke Ingels Group ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์อวกาศจอห์นสันของ NASA 

————————————————————————————————————————————————

การนำวัสดุขึ้นสู่อวกาศโดยกระสวยอวกาศของ NASA มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 54,000 ดอลลาร์ต่อน้ำหนักบรรทุกเพียง 1 กิโลกรัม

การใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติเพื่อผลิตชิ้นส่วนบนดวงจันทร์ จะช่วยประหยัดน้ำหนักและเงิน อีกทั้งยังช่วยให้นักบินอวกาศสามารถซ่อมแซมสิ่งต่าง ๆ ในไซต์งานได้ด้วย

ย้อนไปในปี 1972 ภารกิจ Apollo 17 สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี นักบินอวกาศได้นำตัวอย่างฝุ่นดินสีดำจากดวงจันทร์มาสู่โลกของเรา เพื่อให้นักวิจัยได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป ฝุ่นดิินสีดำจากดวงจันทร์นี้เราเรียกว่า “เรโกลิธ” 

Regolith_from_Apollo_17

————————————————————————————————————————————————

จากการศึกษาของ WSU Bandyopadhyay พร้อมด้วยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา อาลี อาโฟรเซียน และ เคลเลน แทร็กเซิล ได้ทดลองนำ “เรโกลิธ” 5% มาผลมกับ “ไททาเนียม” ซึ่งนิยมใช้ในการทำวัสดุสำรวจอวกาศเนื่องจากคุณสมบัติด้านความแข็งแรงและทนความร้อน

จากนั้นใช้เลเซอร์ยิง ทำให้วัสดุมีอุณหภูมิสูงกว่า 2,000 องศาเซลเซียส โดยส่วนผสมที่หลอมละลาย จะไหลเข้าสู่แท่นพิมพ์ 3 มิติ เพื่อสร้างรูปร่างและขนาดต่าง ๆ ได้ตามต้องการ

————————————————————————————————————————————————

เมื่อปล่อยให้เย็นตัวลงแล้ว จะได้ออกมาเป็นวัสดุประสิทธิภาพสูงที่แข็งแกร่ง ดีกว่าไททาเนียมอัลลอยด์เพียงอย่างเดียว ซึ่งหมายความว่า สามารถใช้ทำชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักเบา และสามารถรับน้ำหนักได้มากอีกด้วย 

ผลงานก่อนหน้านี้ของบริษัท ICON ในปี 2018 ได้สร้าง ‘บ้านพิมพ์ 3 มิติที่ได้รับอนุญาตแห่งแรก’ ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บริษัทได้ส่งมอบชุมชนบ้านพิมพ์ 3 มิติในสหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก ตลอดจนค่ายทหารกองทัพบก และกองทัพอากาศสหรัฐฯ และ กรมทหารเท็กซัส

=========================================================================

บ้านที่สร้างเสร็จใน 2 วัน และรีไซเคิลได้ 100%

biohome3d

ที่สหรัฐอเมริกา “รัฐเมน” มีป่าไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ในอดีตมีโรงเลื่อย และโรงงานกระดาษ อยู่เป็นจำนวนมาก

แต่ต่อมา โรงงานกระดาษประสบปัญหา เมื่อเอกสารกระดาษเปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัล และกระดาษราคาถูกจากต่างประเทศ ก็เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทางตลาด ทำให้โรงงานกระดาษต้องปิดตัวลง

แต่โรงเลื่อยในบริเวณนั้นยังคงอยู่ ตามปกติแล้ว โรงเลื่อยจะมีขี้เลื่อยประมาณ 1,000 ตันทุกปี เมื่อก่อนโรงเลื่อยจะส่งขี้เลื่อยและผลพลอยได้อื่น ๆ จากการผลิตให้โรงงานกระดาษ แต่เมื่อไม่มีโรงงานกระดาษอีกต่อไปแล้ว เราจะจัดการกับขี้เลื่อยจำนวนมหาศาลนี้อย่างไรดี

————————————————————————————————————————————————

ขี้เลื่อยได้ถูกนำมาใช้สร้างบ้านต้นแบบขนาด 600 ตารางฟุต ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในวิทยาเขต Orono ของมหาวิทยาลัย Maine เรียกว่าบ้าน BioHome3D

โครงการนี้นำโดย ศูนย์โครงสร้างและคอมโพสิตขั้นสูง Advanced Structures and Composites Center (ASCC) ของมหาวิทยาลัย Maine ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ Hub and Spoke ของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา

————————————————————————————————————————————————

BioHome3D คือการพิมพ์ 3 มิติทั้งหมด ทุกส่วนของตัวบ้าน รวมถึงพื้น ผนัง และหลังคา (ยกเว้น ประตู และ หน้าต่าง) 

BioHome3D ทำจากขี้เลื่อย ซึ่งเป็นวัสดุชีวภาพที่สามารถรีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นต่อไปในอนาคต คนในรุ่น ลูก หลาน เหลนของเรา จึงสามารถรีไซเคิล BioHome3D ได้อย่างเต็มที่

————————————————————————————————————————————————

แม้ว่าบ้าน BioHome3D จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็มียังข้อสงสัยเกี่ยวกับความแข็งแรงและความทนทานของมัน Habib Dagher ผู้อำนวยการบริหารของ ASCC และทีมงานของเขา มีประสบการณ์กว่า 20 ปี ในการวิจัยวัสดุชีวภาพเชิงวิศวกรรม ยืนยันวา BioHome3D  เป็นบ้านที่มีมาตรฐาน แข็งแรง ปลอดภัย 

biohome3d-inside-1

ในส่วนของตัวบ้าน BioHome3D ก็เหมือนกับบ้านหรืออพาร์ตเมนต์ขนาดเล็กทั่วไป / มีห้องครัวแบบเปิดโล่ง / พื้นที่นั่งเล่น / ส่วนรับประทานอาหาร / ผนังไม้เซาะร่อง / ห้องนอนที่สามารถดัดแปลงเป็นห้องทำงาน หรือออฟฟิศได้ / และห้องน้ำปูกระเบื้อง / เมื่อประกอบโมดูลเข้าด้วยกันแล้ว ใช้ช่างไฟฟ้าเพียงหนึ่งคน เดินระบบไฟฟ้าภายในบ้าน รวมแล้วไม่เกินสองชัวโมง บ้านนี้ก็พร้อมเข้าอยู่

————————————————————————————————————————————————

Habib Dagher ผู้อำนวยการบริหารของ ASCC มีโครงการที่จะสร้างโรงงาน เพื่อผลิต BioHome3D ในปริมาณมากขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตให้เสร็จภายในสองวัน เขาเชื่อมั่นว่า BioHome3D จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย สำหรับประชาชนทั่วสหรัฐอเมริกา

biohome3d-inside-2-1

=========================================================================

อ้างอิง :

singularityhub.com

“โรเบิร์ต มอร์แกน” เจ้าของฟาร์มต้นคริสต์มาส ที่ใหญ่ที่สุดในเวลล์

“ปอนด์ฟัลด์ฟาร์ม” ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ “ทรีครอสเสจ” ที่นี่เป็นฟาร์มของ “เดวิด มอร์แกน” ซึ่งสืบทอดกิจการของครอบครัว “มอร์แกน” ที่สืบต่อกันมานานกว่าห้าชั่วอายุคนแล้ว “ปอนด์ฟัลด์ฟาร์ม” มีแกะ 2,000 ตัว และวัว 200 ตัว ที่เลี้ยงไว้เพื่อฆ่าแล้วนำเนื้อสัตว์ไปขายส่งให้ซุปเปอร์มาร์เก็ต

แต่ในปี ค.ศ. 1997 เศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้เนื้อวัวและเนื้อแกะ ราคาตกลงอย่างมาก ซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นผู้รับซื้อที่มีอำนาจในการกำหนดราคา ซึ่งราคานั้นต่ำกว่าต้นทุนของฟาร์ม

“โรเบิร์ต มอร์แกน” ลูกชายของ “เดวิด มอร์แกน” เขารู้ตัวดีว่าสักวันหนึ่งเขาจะต้องสืบทอดกิจการนี้ต่อจากพ่อของเขา ดังนั้นเขาจึงไปเรียนเกษตรกรรม ที่เมืองวินเชสเตอร์เป็นเวลาสองปี หลังจากเรียนจบ “โรเบิร์ต มอร์แกน” กลับบ้านมาช่วยงานในฟาร์มของพ่อ

แต่อีกสองปีต่อมาก็เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นในครอบครัว “มอร์แกน” โดยที่ไม่มีใครคาดคิด ไม่มีใครสักคนในครอบครัวที่จะรู้ว่า “เดวิด มอร์แกน” ต้องต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า และความเครียดจากพิษเศรษฐกิจ “เดวิด มอร์แกน” จบชีวิตตัวเองลงอย่างน่าเศร้าในปี ค.ศ. 1999 ด้วยวัยเพียง 55 ปี โดยทิ้งลูกชาย ลูกสาว และภรรยาของเขาไว้เบื้องหลัง

การสูญเสีย “เดวิด มอร์แกน” ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว ทำให้รากฐานของครอบครัวมอร์แกนสั่นคลอน ลูกชายของเขา “โรเบิร์ต มอร์แกน” จึงต้องทำตัวให้เข้มแข็งเพื่อเป็นที่พึ่งของแม่และน้องสาว เขาต้องเปลี่ยนตัวเองจากเด็กผู้ชายวัยรุ่นที่ชอบเล่นน้ำทะเล ชอบเล่นโยคะ มาเป็นหนุ่มชาวไร่ ชาวนา

“โรเบิร์ต” คิดว่าการเลี้ยงวัว เลี้ยงแกะ ที่แสนจะเหน็ดเหนื่อย แต่ราคารับซื้อเนื้อวัว เนื้อแกะตกต่ำ ขายไปก็ขาดทุนแล้วจะขายทำไม และที่สำคัญคือเขาไม่สามารถ เชือดวัว เชือดแกะ อย่างพ่อของเขาได้ เขาคิดว่าการปลูกต้นคริสต์มาส น่าสนใจกว่า เพราะต้นคริสต์มาส เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า และง่ายกว่าสำหรับตัวเขาเอง

เพื่อมุ่งความสนใจไปที่การปลูกต้นคริสต์มาส เขาตัดสินใจอย่างยากลำบาก ที่จะขายแกะและวัวทั้งหมดที่อยู่ในฟาร์ม นอกจากนี้เขายังต้องขายสุนัขชีพด็อก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก มันเป็นสุนัขเลี้ยงแกะ เขาจะเลี้ยงมันไว้ในฐานะสัตว์เลี้ยงไม่ได้ มันอยากทำงานทุกวัน

ตอนแรกชาวนาในท้องถิ่นคิดว่า “โรเบิร์ต” เป็นบ้าไปแล้ว ที่ไถนาทิ้งเพื่อปลูกต้นคริสต์มาส

“โรเบิร์ต” ทุ่มเทเวลา ความพยายาม และการวิจัยมากมาย ไปกับการปลูกต้นคริสต์มาส หลังจากปลูกมา 7 ปี ไม่มีรายได้ ไม่มีเงินช่วยเหลือใด ๆ จากรัฐบาล และแล้วต้นคริสต์มาส ก็โตเพียงพอที่จะตัดขาย

ในปี ค.ศ. 2004 “โรเบิร์ต” มีต้นคริสต์มาส ลอตแรกที่พร้อมสำหรับการขาย และเขาขายมันได้หมดภายในหนึ่งสัปดาห์ นั่นทำให้เขามองเห็นศักยภาพของธุรกิจนี้ที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า

ภายใต้วิสัยทัศน์ของ “โรเบิร์ต” ฟาร์มได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตอนนี้เขาได้ปลูกต้นคริสต์มาส มากกว่า 500,000 ต้น เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Gower Fresh Christmas Trees” เขาได้กลายเป็นผู้ปลูกต้นคริสต์มาสรายใหญ่ที่สุดของเวลส์ โดยได้รับรางวัล “Grower of the Year Award 2017”

ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2017 “โรเบิร์ต” ได้เข้าพบ “เทเรซ่า เมย์” เขาเป็นผู้จัดหาต้นคริสต์มาสให้กับ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นั่นคือต้นคริสต์มาสที่ตั้งตระหง่านอยู่ภายนอก 10 Downing Street

นอกจากต้นคริสต์มาสแล้ว ที่ฟาร์มแห่งนี้ ยังเป็นที่อยู่ของฝูงกวางเรนเดียร์ ฝูงใหญ่ที่สุดในเวลส์ โดยมีกวางเรนเดียร์ประมาณ 40 ตัวซึ่งทางฟาร์มถือว่า “เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวมอร์แกน”

ฝูงกวางเรนเดียร์ เดินเล่นอย่างอิสระและมีความสุขท่ามกลางธรรมชาติ บนพื้นที่กว่า 20 เอเคอร์ของพวกมัน

วันฮัลโลวีน เป็นช่วงเวลาที่มีนักท่องเที่ยวมารว่มงานฟักทองประจำปี ที่ฟาร์มเป็นจำนวนมาก โดยครอบครัวลูกค้าสามารถเปิดและเลือกฟักทองของตัวเองได้ ในปี ค.ศ. 2021 เพียงปีเดียว ทางฟาร์มขายฟักทองได้มากกว่า 30,000 ลูก

นอกจากนี้ที่ฟาร์มยังมี ทุ่งทานตะวัน และทุ่งลาเวนเดอร์ ซึ่งเรียกความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

สำหรับคริสต์มาสปี ค.ศ. 2022 นี้ ทางฟาร์มได้จัดงานเฉลิมฉลองตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม – วันที่ 25 ธันวาคม ในธีม “เอลฟ์” สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ https://gowerfreshchristmastrees.co.uk

#เวลส์ #ฟาร์ม #คริสต์มาส #ต้นคริสต์มาส #โรเบิร์ตมอร์แกน #thestartup.online

อ้างอิง

Gower Fresh Christmas Trees

https://www.walesonline.co.uk/news/wales-news/desperately-sad-story-behind-one-22288044

https://www.walesonline.co.uk/whats-on/whats-on-news/man-converts-mobility-scooter-coca-25641061

Mark Zuckerberg แห่งรัสเซีย “พาเวล ดูรอฟ” ผู้ก่อตั้ง Telegram และ VK

“พาเวล ดูรอฟ” เกิดวันที่ 10 ตุลาคม ปี ค.ศ 1984 ที่ประเทศรัสเซีย แต่เขาใช้ชีวิตในวัยเด็กส่วนใหญ่ที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี เนื่องจากพ่อของเขาทำงานเป็นแพทย์อยู่ที่นั่น เมื่ออายุ 17 ปีเขาย้ายกลับไปประเทศรัสเซีย

ในปี ค.ศ. 2006 เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และในปีเดียวกันนั้นเอง เขาได้ร่วมกับพี่ชายของเขา “นิโคไล ดูรอฟ” ก่อตั้งเว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ก “VK” หรือชื่อเต็มคือ “Vkontakte” ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในฐานะ “Facebook สัญชาติรัสเซีย” นั่นจึงทำให้ “พาเวล ดูรอฟ” ได้รับฉายาว่าเป็น “Mark Zuckerberg แห่งรัสเซีย”

Source : Getty Images

VK เปิดให้ใช้งานในวันที่ 10 ตุลาคม ปี ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเกิด 22 ปีของเขาพอดี

VK ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ฟรี และสามารถใช้ได้อย่างง่ายดาย ทำให้ผู้คนสนใจเข้ามาเล่น VK กันอย่างมหาศาล ผ่านไปไม่กี่อาทิตย์ VK จึงต้องขยายพื้นที่เซิฟเวอร์เพิ่มขึ้น จนกระทั่งผ่านไป 3 เดือน VK ได้เป็นหนึ่งใน 50 เว็บไซต์ชื่อดังของรัสเซีย

ในปี ค.ศ. 2021 “VK” เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดอันดับที่ 19 ของโลก โดยมีผู้ใช้งานประมาณ 1.8 พันล้านคนต่อเดือน

ในช่วงแรกที่ VK เปิดตัวได้ไม่นาน ดูรอฟทดลองใช้โมเดลหารายได้หลายแบบ เช่น การขาย SMS ให้คนซื้อเพื่อเพิ่มเรตติ้งโปรไฟล์ใน VK ต่อมาได้มีการขายของขวัญใน VK ที่ผู้ใช้สามารถซื้อเป็นเหรียญในเกมส์ที่เล่นใน VK และส่งให้กันได้ และสุดท้ายในปี ค.ศ. 2009 VK ได้เริ่มใส่โฆษณาเข้าไป และหักส่วนแบ่งจากการโฆษณา ทำให้ตั้งแต่นั้นมา VK มีรายได้หลักจากการโฆษณา

ดูรอฟให้ความสำคัญอย่างมากกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้งาน ในปี ค.ศ. 2013 หน่วยงานความมั่นคงของรัสเซีย “FSB” ต้องการข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน VK ในยูเครนที่ประท้วงประธานาธิบดีรัสเซีย แต่ดูรอฟปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลเหล่านั้นกับทางการรัสเซีย เพราะมันหมายถึงการทรยศต่อผู้ใช้งาน VK ชาวยูเครน

หลังจากนั้นในวันที่ 1 เมษายน ปี ค.ศ. 2014 ดูรอฟถูกบังคับให้ลาออกจาก VK ซึ่งเป็นบริษัทที่เขาก่อตั้งขึ้นมาด้วยตัวเอง และเขายังถูกบังคับให้หนีออกจากรัสเซีย ประเทศบ้านเกิดของตนเองอีกด้วย

หลังจากลาออกจาก VK ดูรอฟขายหุ้น VK ออกทั้งหมดในราคาที่ไม่เปิดเผย แต่เชื่อกันว่าน่าจะเป็นจำนวนเงินหลายล้านดอลลาร์ 

หลังจากลี้ภัยออกมาจากประเทศรัสเซีย ดูรอฟได้รับสัญชาติ “เซนต์คิตส์และเนวิส” ซึ่งเป็นประเทศเล็ก ๆ ในหมู่เกาะทะเลแคริบเบียน ดูรอฟได้รับสิทธิ์ให้เป็นพลเมืองของสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิส (Saint Kitts and Nevis) จากการซื้อสัญชาติโดยการบริจาคเงินจำนวน 250,000 ดอลลาร์ให้แก่มูลนิธิการกระจายความเสี่ยงของอุตสาหกรรมน้ำตาลของประเทศ และการนำเข้าเงินสดจำนวน 300 ล้านเหรียญดอลลาร์ผ่านธนาคารสวิสหลายแห่ง

หลังจากที่ดูรอฟได้รับสัญชาติ “เซนต์คิตส์และเนวิส” แล้วระหว่างนั้นสองพี่น้องดูรอฟยังคงเร่ร่อนต่อไป พวกเขายังหาที่อยู่เป็นหลักแหล่งไม่ได้ แต่ในที่สุดสองพี่น้องดูรอฟก็เลือกประเทศดูไบ ในการลงหลักปักฐานเพื่อเป็นที่อยู่ของพวกเขามาจนถึงปัจจุบัน และในปี ค.ศ. 2021 ดูรอฟยังได้รับสัญชาติฝรั่งเศส เพิ่มมาอีกหนึ่งสัญชาติ

หลังจากนั้น ดูรอฟก็ทุ่มเทเวลาให้กับโครงการใหม่ของเขา นั่นคือ “Telegram” ซึ่งเป็นแอปที่ใช้รับส่งข้อความแบบเข้ารหัส

Source : Getty Images

Telegram สามารถรับส่งข้อความ ภาพ ไฟล์ โทรด้วยเสียง และวิดีโอคอลได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ต่างจากว็อตสแอป (WhatsApp) ไลน์ (LINE) เฟซบุ๊กเมสเซนเจอร์ (Facebook Messenger) หรือแม้แต่สแลค (Slack) แต่จุดเด่นหลักอยู่ที่เทคโนโลยีการเข้ารหัสพิเศษที่คิดค้นโดยพี่ชายของเขา “นิโคไล ดูรอฟ”

“Telegram” เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2013 โดยมีจุดเด่นคือเป็นแอปที่มีการเข้ารหัสเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้งาน และผู้ใช้งาน Telegram สามารถตั้งกลุ่มแชทในหัวข้อที่ตนเองสนใจได้ นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อสิบปีที่แล้ว Telegram ประสบความสำเร็จในการพัฒนาให้เป็นหนึ่งในแอปผู้ให้บริการส่งข้อความที่ใหญ่ที่สุดในโลก

จุดเด่นของ Telegram ที่โด่งดังมาถึงเมืองไทยในช่วงวิกฤตการเมือง นั่นคือเรื่อง Data Encryption ที่มีการรักษาความปลอดภัยซ้อนทับกันหลายชั้น จนไม่ต้องห่วงว่าข้อมูลผู้ใช้งานจะรั่วไหล ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่แค่ในเมืองไทยที่ผู้คนหันมาใช้ Telegram ในช่วงที่มีประเด็นทางการเมือง แม้แต่ในรัสเซียเองก็เช่นกัน หลายครั้งที่รัฐบาลรัสเซีย พยายามที่จะแทรกแซง Telegram ด้วยการเอา Encryption Key ไปเพื่อที่จะล้วงข้อมูลการแชทของผู้ใช้งาน แต่สุดท้ายก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะ Telegram ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

แน่นอนว่าการที่ดูรอฟปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลผู้ใช้งาน VK แก่รัฐบาลรัสเซีย ทำให้ Telegram ถูกโจมตีจากรัฐบาลรัสเซียอย่างหนัก เช่นการโจมตีว่า Telegram เป็นแหล่งศูนย์รวมของการปล่อยข่าวสำหรับผู้ก่อการร้าย หรือ Telegram เป็นแหล่งรวมของแก๊งค์ค้ายาเสพติด และต่อมาในเดือน เมษายน ปี ค.ศ. 2018 ทางรัฐบาลรัสเซียได้แบนและบล็อค Telegram อย่างเป็นทางการ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามในช่วง ปี ค.ศ. 2018 Telegram ก็สามารถระดมทุน ICO ได้มากเป็นประวัติศาสตร์ การระดมทุนครั้งนี้ได้เงินทั้งสิ้นจำนวน 2.7 พันล้านดอลลาร์ และยิ่งไปกว่านั้นชาวรัสเซียจำนวนมากก็ยังคงนิยมใช้ Telegram กันมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่า Telegram จะถูกแบนจากรัฐบาลรัสเซีย แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะชาวรัสเซียสามารถใช้ Telegram ผ่าน VPN

นอกจากในประเทศรัสเซียแล้ว Telegram ยังสร้างความเดือดดาลให้กับฝ่ายกุมอำนาจในประเทศอื่นด้วย จากการชุมนุมประท้วงรัฐบาลจีนในฮ่องกง ผู้ประท้วงใช้ Telegram ในการส่งข่าวการชุมนุม ความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และรหัสเข้าอาคารถึงกัน

กลุ่มผู้ประท้วงชื่นชอบ Telegram เพราะไม่โชว์ไอพีแอดเดรส และผู้ใช้งานสามารถอำพรางหมายเลขโทรศัพท์มือถือของพวกเขาได้ด้วยการหลบเลี่ยงไปใช้บัญชีอวตาร

ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2015 Telegram ถูกโจมตีจากแฮคเกอร์ในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งดูรอฟเชื่อว่าเป็นการโจมตีจากประเทศจีน และต่อมา Telegram ถูกแบนและบล็อคในประเทศจีน

ในเบลารุสไม่ค่อยมีใครสนใจ Telegram มากนัก จนกระทั่งมีการชุมนุมประท้วงครั้งล่าสุด Telegram จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม รัฐบาลเบลารุส ภายหลังการโกงเลือกตั้ง ได้สั่งปิดอินเทอร์เน็ตเพื่อตัดช่องทางการรับรู้ข่าวสารของประชาชนจากโลกภายนอก มีการสั่งปิดโซเชียลมีเดียต่าง ๆ รวมถึง Telegram แต่ก่อนที่รัฐบาลเบลารุสจะเริ่มปฏิบัติการ Telegram ก็ได้เปิดใช้เครื่องมือสกัดการเซ็นเซอร์ในเบลารุสได่สำเร็จทำให้ Telegram สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานส่วนใหญ่ในเบลารุสได้ 

Telegram ได้รับการขนานนามว่าเป็นแอปที่เติบโตเร็วที่สุดในปี ค.ศ. 2021 เนื่องจากความสำเร็จครั้งสำคัญในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2021 ภายในวันเดียวมีการดาวน์โหลดแอป Telegram จากผู้ใช้งานใหม่กว่า 70 ล้านคน

ความสำเร็จอย่างมหัศจรรย์ของ Telegram ทำให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของดูรอฟ อยู่ที่ประมาณ 15.1 พันล้านดอลลาร์ ในปี ค.ศ. 2021 Forbes ได้จัดอันดับให้เขาเป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดอันดับที่ 112 ของโลก

ในปี ค.ศ. 2017 ดูรอฟได้รับรางวัลจากสหภาพนักข่าวแห่งคาซัคสถาน ในฐานะ “ผู้ที่มีจุดยืนต่อต้านการเซ็นเซอร์และการแทรกแซงการติดต่อทางออนไลน์ของพลเมือง”

และในปี ค.ศ. 2018 ดูรอฟได้รับการเสนอชื่อโดยนิตยสาร Fortune ให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในธุรกิจ

Source : Getty Images

พาเวล ดูรอฟ เคยบริจาคเงินจำนวนหนึ่งล้านดอลลาร์ให้กับเว็บไซต์ Wikipedia เขาเคยตกเป็นข่าวฮือฮาเมื่อเขากับทีมงานช่วยกันพับเครื่องบินกระดาษด้วยธนบัตร 5,000 รูเบิล หรือราว 1,550 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 58,000 บาท แล้วปาออกทางหน้าต่างจากสำนักงานใหญ่ VK สร้างความโกลาหลวุ่นวายบนท้องถนน เหตุการณ์นี้ทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมและการเมืองของรัสเซีย

ดูรอฟให้สัมภาษณ์ว่าการโปรยเงินที่เกิดขึ้น ทำไปเพื่อต้องการสร้างบรรยากาศรื่นเริงและไม่มีเจตนาที่ชั่วร้าย โดยระบุว่าตัวเขาเห็นความประหลาดใจและความสุขบนใบหน้าของผู้คน ซึ่งเขามีความสุขที่ได้เห็น และเขาไม่ได้ตั้งใจที่จะท้าพิสูจน์ความสำคัญหรือความมั่งคั่งของตัวเองแต่อย่างใด

เป็นเวลาสิบกว่าปีแล้วที่ “พาเวล ดูรอฟ” เลิกดื่มกาแฟ เขาไม่กินเนื้อสัตว์ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่กินอาหารจานด่วน จั๊งค์ฟู๊ด

ช่วงต้นปี ค.ศ. 2019 ดูรอฟเปิดเผยว่าเขาจำกัดอาหารตัวเองไว้ที่ปลาและอาหารทะเล แต่แล้วในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2019 เขาก็ประกาศเขาไม่กินอาหารและอดน้ำเป็นบางวัน ดูรอฟบอกว่าเขารู้สึกดีมาก เพราะการอดอาหารมีส่วนช่วยเพิ่มความชัดเจนทำให้ความคิดของเขาฉับไวขึ้น

“พาเวล ดูรอฟ” เคยให้สัมภาษณ์และบอกถึงสิ่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ ดังนี้

ข้อที่ 1. คุณต้องเก่งในสิ่งที่คุณชอบ แล้วคุณจะทำมันด้วยความสุข

ข้อที่ 2. หลีกเลี่ยงอาหารจั๊งค์ฟู๊ด อย่าเชื่อเรื่องเวทมนต์ในการลดความอ้วน เพียงแค่คุณกินผัก, ผลไม้ และดื่มน้ำสะอาด นั่นก็เพียงพอแล้ว

ข้อที่ 3. เป็นคนกินแต่มังสวิรัติ ไม่ใช่ว่าจะเป็นกุญแจที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จ รวมถึงเรื่องการไม่ดื่มแอลกฮอลด้วย มันไม่ใช่เรื่องงด แต่เป็นเรื่องที่คุณต้องรู้ลิมิตของตัวเอง

ข้อที่ 4. เรียนภาษาที่ 3 แล้วความคิดของคุณที่มีต่อโลกจะเปิดกว้างไปอีก และมันยังช่วยให้คุณได้พัฒนาตัวเองมากขึ้น และช่วยเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ

ข้อที่ 5. อ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับสายงานของคุณ เพื่อพัฒนาตนเอง ถ้าคุณขี้เกียจอ่านหนังสือ อาจใช้เป็นการฟัง Audio Book แทนก็ได้

ข้อที่ 6. ใช้เวลาว่างในวันหยุดให้เกิดประโยชน์ เช่น การใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ไปโรงหนัง ปิกนิก กินอาหารกลางวันกับเพื่อน ๆ พยายามออกไปใช้ชีวิต เปิดโลกให้กว้าง

ข้อที่ 7. อะไรที่คุณเขียนไป อย่าไปสนใจว่าจะมีคนอ่านหรือเปล่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณได้เรียนรู้ในการคุยกับตัวเอง

ข้อที่ 8. เขียนเป้าหมายของคุณไว้ใน สมุด, ไดอารี่ หรือในบล็อคของคุณ ซึ่งมันจับต้องได้, วัดได้, และควรตั้งกำหนดเวลาในการถึงเป้าหมายไว้ด้วย

ข้อที่ 9. พยายามเรียนรู้ในการพิมพ์โดยการไม่มองที่คีย์บอร์ด เพราะเวลาคือสิ่งที่มีค่ามากที่สุดสำหรับคุณ ดังนั้นคุณควรเอาเวลาไปนั่งคิดกับการที่จะทำอะไรกับชีวิต ดีกว่าการเสียเวลาหาตำแหน่งตัวอักษรบนคีย์บอร์ด การตัดสินใจของคุณต้องรวดเร็ว และต้องลงมือทำทันที อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง

ข้อที่ 10. พยายามใช้เวลาให้น้อยที่สุดกับการนั่งดูทีวี, เล่นเกมส์ เล่นอินเทอร์เน็ต รวมถึงการเล่นโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ด้วย

Source : Getty Images

มีแต่คนรวยเท่านั้นที่มีสับปะรด

ในยุโรประหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 18 สับปะรดมีราคาแพงและหายากมาก การแปลงราคาสับปะรดทั้งลูกในศตวรรษที่ 16, 17 และ 18 ให้เป็นเงินสกุลดอลลาร์ในปัจจุบันนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 5,000-10,000 ดอลลาร์ต่อสับปะรดหนึ่งลูกขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลไม้และฤดูกาล

แล้วผลไม้ชนิดนี้มีค่ามากได้อย่างไร?

แม้ว่าสับปะรดจะมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้และปลูกที่นั่นมาหลายศตวรรษ แต่ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1493 ระหว่างการเดินทางครั้งที่สองของ “คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส” เพื่อค้นหาดินแดนแห่งใหม เขาแวะที่ “เกาะกวาเดอลูป” ในทะเลแคริบเบียน ที่เกาะแห่งนี้เขาได้รู้จักกับผลไม้ที่ชื่อว่า “สับปะรด” เป็นครั้งแรกในชีวิต “คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส” นำสับปะรดกลับไปที่สเปน หลังจากนั้นสับปะรดจึงได้กลายเป็นผลไม้ยอดนิยมของชนชั้นสูงในยุโรป

ในสมัยนั้นยุโรปขาดแคลนน้ำตาลทรายขาวและวัตถุที่ให้ความหวานอื่น ๆ ด้วย วิธีเดียวที่จะได้สับปะรดมาคือ การจ่ายเงินเพื่อนำเข้าโดยตรงซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก เรือขนส่งหลายลำในยุคนั้นแล่นช้าเกินไป และสภาพอากาศบนเรือร้อนเกินไปที่จะป้องกันไม่ให้สับปะรดทั้งลูกเน่าเสียระหว่างการเดินทาง ดังนั้นการขนส่งสับปะรดทั้งลูกอย่างปลอดภัยจากหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียนมาถึงยุโรปจึงต้องใช้เรือที่เร็วที่สุดและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยที่สุด ผลที่ตามมาคือ คนกลุ่มเดียวที่สามารถซื้อสับปะรดทั้งลูกได้ ก็คือคนระดับราชวงศ์หรือมหาเศรษฐีเท่านั้น

สองศตวรรษหลังจากชาวยุโรปค้นพบสับปะรด ชาวดัตช์สามารถเริ่มปลูกสับประรดได้สำเร็จในช่วงปลายทศวรรษ 1600 หลังจากราชสำนักอังกฤษรู้ข่าวการปลูกสับปะรดและพืชและผลไม้แปลก ๆ อื่น ๆ ได้ตลอดทั้งปี ทำให้ขุนนางหลายคนสนใจส่งคนทำสวนของตระกูลตนเอง เดินทางจากอังกฤษไปยังเนเธอร์แลนด์เพื่อเรียนรู้เทคนิคของเขาโดยตรง

เหตุใดชาวดัตช์จึงมีอำนาจควบคุมการผลิตสับปะรด?

สาเหตุหลักมาจากบริษัทอินเดียตะวันตกของดัตช์ ซึ่งมีอำนาจผูกขาดการค้าในทะเลแคริบเบียนเกือบทั้งหมดในขณะนั้น ทำให้ชาวดัตช์ผู้มั่งคั่งสามารถนำเข้าพืชสับปะรดจำนวนมาก เพื่อมาทดลองปลูกได้แม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงมากก็ตาม

ชายคนหนึ่งชื่อ “จอห์น โรส” มักถูกเข้าใจผิดว่าปลูกสับปะรดต้นแรกในอังกฤษ เนื่องจากมีภาพวาดในปี ค.ศ. 1675 ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเขานำเสนอสับปะรดสุกแก่ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” แต่ปรากฎว่าสับปะรดที่เห็นในภาพวาดนั้นเป็นสับปะรดที่นำเข้ามาจาก “บาฮามาส”

จนกระทั่งประมาณปี ค.ศ. 1714-1716 การปลูกสับปะรดในดินอังกฤษก็ประสบความสำเร็จ เมื่อชาวดัตช์ชื่อ “Henry Telende” สามารถปลูกสับปะรดให้กับนายจ้างของเขา “Matthew Decker”

วิธีการปลูกสับปะรดของ “Henry Telende” คือการรักษาอุณหภูมิของดินในโรงเรือนร้อนที่ออกแบบเป็นพิเศษ ซึ่งจะมีหลุมสีน้ำตาลที่เรียงรายไปด้วยก้อนกรวดอยู่ข้างใน เขาวางปุ๋ยคอกไว้บนก้อนกรวด แล้ววางบนเปลือกไม้โอ๊คแช่น้ำ ปุ๋ยคอกสร้างความร้อนมากเกินไปในช่วงแรก แต่เปลือกไม้โอ๊คแช่น้ำจะช่วยควบคุมและให้ความร้อนที่สม่ำเสมอมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้อุณหภูมิดินคงที่เหมาะสมสำหรับการปลูกสับปะรด

แม้ว่าการปลูกสับปะรดในดินอังกฤษจะเป็นไปได้แล้ว แต่การสร้างโรงเรือนสำหรับปลูกสับปะรดต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ทำให้มีโรงเรือนปลูกสับปะรดในอังกฤษเพียงไม่กี่แห่ง เมื่อผลผลิตออกมาสู่ตลาดมีจำนวนน้อยมาก แต่ความต้องการซื้อมีสูง ดังนั้นการครอบครองสับปะรดสักลูกก็ยังมีราคาแพงอยู่ดี จนขุนนางหลายคนไม่กินมัน

พวกขุนนางอังกฤษเลือกที่จะวางสับปะรดไว้รอบ ๆ บ้าน เหมือนเป็นเครื่องประดับล้ำค่าหรือพกติดตัวไปในงานปาร์ตี้ มีนักธุรกิจหัวใสเปิดร้านให้เช่าสับปะรดทั่วอังกฤษ สำหรับผู้ที่ไม่ร่ำรวยสามารถเช่าสับปะรดแล้วเหน็บมันไว้ในซอกแขนเพื่อเดินอวดความร่ำรวยในงานปาร์ตี้ได้เช่นกัน สับปะรดลูกนี้จะถูกส่งต่อจากผู้เช่าคนหนึ่งไปยังผู้เช่าอีกคนหนึ่งเป็นเวลาหลายวันจนกว่าจะมันจะสุก และถูกขายให้กับคนที่ต้องการกินมันในที่สุด

ในงานเลี้ยงอาหารค่ำ บนโต๊ะอาหารจะวางสับปะรดไว้เป็นเครื่องประดับเพื่อแสดงถึงความมั่งคั่งของเจ้าของบ้าน สับปะรดที่วางไว้บนโต๊ะอาหารเพื่อประดับตกแต่งเท่านั้นไม่ได้มีไว้สำหรับกิน แต่มันจะถูกรายล้อมไปด้วยผลไม้อย่างอื่นที่มีราคาถูกกว่าและกินได้ อย่างไรก็ตามสับปะรดจะถูกกินก็ต่อเมื่อมันเริ่มจะเน่าเสียแล้วเท่านั้น

น้อยคนนักที่จะเคยมีประสบการณ์จริง ๆ ว่าการกินสับปะรดนั้นเป็นอย่างไร เนื่องจากความหวานตามธรรมชาติของสับปะรดซึ่งถูกอธิบายว่าคล้ายกับ “ไวน์ น้ำกุหลาบ และน้ำตาล” ผสมกัน ผลไม้ชนิดนี้จึงถูกมองว่าเป็นอาหารอันโอชะของชนชั้นสูงชาวอังกฤษที่ชอบทานรสหวาน

ในปี ค.ศ. 1807 มีคดีการขโมยสับปะรด ซึ่งรวมถึงคดีของ “มิสเตอร์ก็อดดิง” ซึ่งถูกศาลตัดสินจำคุก 7 ปีในข้อหาขโมยสับปะรด 7 ลูกไปยังออสเตรเลีย

กล่าวกันว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงรักสับปะรดเป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความหวานและอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะพระองค์รู้สึกขบขันที่ผลไม้ชนิดนี้มีรูปร่างลักษณะเหมือนสวมมงกุฎเล็ก ๆ อยู่บนหัว ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 จึงมักเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า “King-pine”

อันที่จริง หลังจากที่สับปะรดเริ่มเป็นที่รู้จักในอังกฤษ มันก็กลายเป็นลักษณะเด่นของศิลปะและสถาปัตยกรรมในยุคนั้น เช่น บ้านดันมอร์ที่มีหลังคาเป็นรูปทรงสับปะรด บ้านดันมอร์สร้างในปี ค.ศ. 1761 โดยเอิร์ลแห่งดันมอร์ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของสกอตแลนด์

ตลอดช่วงทศวรรษที่ 1700 และ 1800 ศิลปินวาดภาพสับปะรดเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการต้อนรับ เช่น ผ้าเช็ดปาก ผ้าปูโต๊ะ วอลล์เปเปอร์ และแม้กระทั่งเสาเตียง ก็ตกแต่งด้วยภาพวาดและแกะสลักเป็นรูปสับปะรดเพื่อให้แขกรู้สึกอบอุ่น หากผู้คนไม่สามารถซื้อหรือเช่าสับปะรดของจริงได้ พวกเขาจะซื้อจานลายสับปะรด และกาน้ำชาที่มีรูปร่างเป็นสับปะรด ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1760

แต่สถานะของซุปเปอร์สตาร์นี้ก็อยู่ได้ไม่นานนัก เรือกลไฟเริ่มนำเข้าสับปะรดไปยังอังกฤษเป็นประจำทำให้สับปะรดมีราคาถูกลงเรื่อย ๆ

ไม่ใช่แค่เพียงชนชั้นกลางเท่านั้นที่สามารถซื้อสับปะรดได้ แต่ชนชั้นแรงงานก็สามารถทำได้เช่นกัน

สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่าเป็นผลไม้หรูหรา ตอนนี้สามารถหาซื้อได้ตามแผงลอยและรถเข็นราคาถูกในเมืองส่วนใหญ่ทั่วประเทศ